Uberfarm นวัตกรรมและเครือข่าย ความมั่นคงอาหารโลก
Uberfarm นวัตกรรมและเครือข่าย องค์กรเกษตรทั่วโลก ประกาศจุดยืน เน้นนวัตกรรมและสร้างเครือข่าย เพื่อรักษาความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการให้แก่ประชาคมโลก
เมื่อ วันพุธที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2562 กรุงเทพฯ – องค์กรเกษตรทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ร่วมประกาศจุดยืนนำนวัตกรรมการและเทคโนโลยีตลอดกระบวนการผลิตอาหารและการเกษตรในงานสัมมนาธุรกิจเพื่อสังคมระดับนานาชาติด้านอาหารและเกษตรกรรม ครั้งที่ 6 หรือ The 6th Responsible Business Forum on Food and Agriculture (RBF)
องค์กรเกษตรร่วมพัฒนานวัตกรรมโมเดลธุรกิจ Uberfarm ให้บริการด้านการเพาะปลูก โดยนำเทคโนโลยีบล็อกเชนและเทคโนโลยีชีวภาพเข้ามาปรับปรุงผลผลิตและการตรวจสอบ ซึ่งจะเป็นหัวใจสำคัญในการรักษาความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการในอนาคต
นายมัลคอล์ม เพรสตัน ศาสตราจารย์อาวุโส วิทยาลัยการจัดการเคลล็อก และคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด กล่าวในพิธีปิดงานว่า “ความเชื่อมั่นและความร่วมมือเป็นสิ่งจำเป็น แต่ละองค์กรจำเป็นต้องเชื่อมั่นในเทคโนโลยีใหม่ และเชื่อมั่นในการประสานความร่วมมือระหว่างกันของพันธมิตร”

นางกันธวี คาธิเรสาน ผู้ช่วยผู้อำนวยการทั่วไป ระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ กล่าวถึงความจำเป็นของนวัตกรรม อันเป็นความท้าทายในกระบวนการผลิตอาหารอย่างยั่งยืนว่า “ทุกหน่วยงาน ต้องนำนวัตกรรมและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่เข้ามาช่วยในการปรับปรุงกระบวนการผลิต รวมทั้งเป็นการยกระดับคุณภาพตลอดห่วงโซ่คุณค่า เริ่มตั้งแต่ฟาร์มจนถึงบนโต๊ะอาหารของผู้บริโภค”

ตลอดระยะเวลาการจัดงาน กลุ่มผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ ได้แบ่งปันแนวคิดและแนวทางในการจัดการปัญหาหลากหลายด้าน ครอบคลุมอุตสาหกรรมการเกษตรและอาหาร อาทิ การตรวจสอบและติดตาม นวัตกรรมการบริหารเงิน การบริหารความสูญเสียของอาหาร สิทธิมนุษยชน เสริมพลังสตรี และความรับผิดชอบต่อสังคม
นอกจากนี้ ยังจัดให้มีการสนทนาพิเศษใน 4 กลุ่มอุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ ข้าว ผลิตภัณฑ์นม ประมง ผักและผลไม้
งานสัมมนา RBF จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในฐานะประเทศไทยประสบความสำเร็จในอุตสาหกรรมอาหารและการเกษตร รวมทั้งสนับสนุนการดำรงตำแหน่งของประเทศไทยในฐานะประธานอาเซียนประจำปี พ.ศ. 2562 โดยรวบรวมผู้ประกอบการชั้นนำระดับโลกด้านอาหาร ร่วมกันขับเคลื่อนนวัตกรรมตลอดห่วงโซ่คุณค่า เพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการ สอดคล้องกับแนวคิดหลักของอาเซียนประจำปีนี้ที่ว่า “Advancing Partnership for Sustainability” หรือ “ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกล ยั่งยืน”
นายอัครวิทย์ กาญจนโอภาษ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช) กล่าวทิ้งท้ายว่า “รัฐบาลได้มุ่งมั่นดำเนินงานผ่านโครงการ เมืองนวัตกรรมอาหาร หรือ ฟู้ดอินโนโพลิส เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมอาหารแห่งภูมิภาคอาเซียน”
