Thailand Lab International 2018
Thailand Lab International 2018 ไทยแลนด์ แล็บ อินเตอร์เนชั่นแนล 2018 ยกระดับมาตรฐานงานแสดงสินค้าห้องปฏิบัติการ สู่งานระดับแนวหน้าของภูมิภาค พร้อมนำเสนอเทคโนโลยี เครือข่ายการค้า และการลงทุนครบวงจร
จัดงานได้อย่างยิ่งใหญ่ต่อเนื่องเป็นปีที่ 8 ของงาน ไทยแลนด์ แล็บ อินเตอร์เนชั่นแนล 2018 – งานแสดงสินค้าและงานประชุมนานาชาติ ด้านเครื่องมือ เทคโนโลยี และนวัตกรรมในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสาตร์และการแพทย์ ระหว่างวันที่ 12-14 กันยายน 2561 ณ ฮอลล์ 102 – 103 ไบเทค กรุงเทพฯ จัดโดยบริษัท วีเอ็นยู เอ็กซิบิชั่นส์ เอเชีย แปซิฟิค จำกัด ร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสาตร์และเทคโนโลยี, องค์กรภาครัฐและเอกชนอีกมากมาย พร้อมนำเสนอเทคโนโลยี เครื่องมือ และอุปกรณ์ที่จำเป็นในห้องปฏิบัติการรุ่นใหม่ล่าสุดจากผู้ประกอบการชั้นนำจาก 20 ประเทศทั่วโลกมานำเสนอเทคโนโลยีภายในงาน เพื่อต่อยอดและส่งเสริมให้งานวิจัยใหม่ๆ มีมาตรฐานทัดเทียมกับนานาชาติ เกิดการกระตุ้นการลงทุนในการนำเทคโนโลยีขั้นสูงไปใช้ในอุตสาหกรรม ตลอดจนผลักดันอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพและชีววิทยาศาสาตร์ให้เติบโตยิ่งขึ้น โดยคาดการณ์ว่า ภายในงานครั้งนี้จะรวมผู้เชี่ยวชาญ นักลงทุน จากหลากหลายอุตสาหกรรมกว่า 10,000 คนร่วมชมงานกันอย่างคับขั่ง
จากปัจจัยสนับสนุนหลายประการ ทั้งการตื่นตัวของการพัฒนาด้านการควบคุมคุณภาพ อัตราการเติบโตในสายชีววิทยาและวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิตในภูมิภาคเอเชีย ตลอดจนนโยบายของภาครัฐบาลไทยที่มีทิศทางหันมาให้ความสำคัญกับการลงทุนด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อพัฒนางานวิจัยเพิ่มมากขึ้นคิดเป็น 1% ของ GDP รวมของประเทศ จึงทำให้ประเทศไทยก้าวขึ้นสู่ศูนย์กลางของการลงทุนในห้องปฏิบัติการที่มีการแข่งขันสูงมากที่สุดประเทศหนึ่งของอาเซียน และเกิดการกระตุ้นความต้องการของตลาดด้านเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์อย่างน่าจับตามอง
นายอนุชา พันธุ์พิเชฐ ผู้จัดการโครงการ กล่าวว่า “งานไทยแลนด์ แล็บ อินเตอร์เนชั่นแนล 2018 เป็นงานที่ถูกจัดขึ้นโดยมุ่งเน้นที่คุณภาพการจัดงานที่มีมาตรฐานระดับนานาชาติ ผู้จัดฯ ให้ความสำคัญกับจำนวนผู้ประกอบการชั้นนำที่มาร่วมจัดแสดงงาน กลุ่มผู้ซื้อรายสำคัญ ตลอดจนนักลงทุนและผู้เชี่ยวชาญจากหลายอุตสาหกรรมที่ถูกเชิญให้มาชมงานครั้งนี้เพื่อยืนยันถึงคุณภาพของผู้เข้าชมงานที่มีมาตรฐานอย่างแท้จริง สำหรับปีที่ 8 มีการเปิดตัวโซนธุรกิจใหม่ เรียกว่า “MED LAB Asia” เป็นครั้งแรก โซนนี้จะเน้นที่เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์และโรงพยาบาล อีกทั้งยังมี “LAB Highlight zone” หรือเรียกว่าโซนที่รวมสุดยอดเทคโนโลยี เครื่องมือ อุปกรณ์ใหม่ล่าสุดจากบริษัทชั้นนำที่มาเปิดตัวผลิตภัณฑ์ครั้งแรกในเอเชีย นอกจากนั้นยังมี โครงการ Hosted Buyer ซึ่งเป็นโครงการพิเศษที่เชิญผู้ซื้อระดับภูมิภาคมาเยี่ยมชมงานเพื่อกระตุ้นการค้าระหว่างประเทศ เราเชื่อมั่นว่า การจัดงานในครั้งนี้จะเป็นเวทีเจรจาการค้าด้านเทคโนโลยีห้องปฏิบัติการที่ทุกประเทศในภูมิภาคอาเซียนจับตามอง ด้วยจำนวนผู้ประกอบการมากกว่า 250 บริษัทชั้นนำ มากกว่า 1,200 แบรนด์ จาก 20 ประเทศ เข้าร่วมแสดงงาน พร้อมคาดการณ์ว่าจะได้ต้อนรับผู้เข้าชมงานมากกว่า 10,000 คนจาก 40 ประเทศเข้าร่วมงานเช่นปีที่ผ่านมา โดยงานจะจัดตั้งแต่วันที่ 12-14 กันยายน 2561 ณ ฮอลล์ 102-103 ไบเทค กรุงเทพฯ”
อีกไฮไลท์สำคัญของงานไทยแลนด์ แล็บ อินเตอร์เนชั่นแนล 2018 คือโซน Life Science & Bio Investment Asia ซึ่งเป็นโซนที่นำเสนอเทคโนโลยีชีวภาพ และการลงทุนด้านไบโอเทคโนโลยี โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องสำอางค์ ยา วัคซีน การวิเคราะห์เซลล์และยีน, การตรวจดีเอ็นเอ และเทคนิคชีววิทยาที่นำไปประยุกต์ใช้ในการตรวจสอบอาหาร ยา พลังงาน และสิ่งแวดล้อม นอกเหนือจากโซนจัดแสดงเทคโนโลยี ก็ยังมีงานประชุมและสัมมนาวิชาการที่เกี่ยวกับด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ เทคโนโลยีชีวภาพ พันธุศาสาตร์ ไวรัสวิทยา และความปลอดภัยของการใช้ห้องปฏิบัติการอีกหลายงานประชุมให้ผู้ที่สนใจเข้าร่วม โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อดึงดูดนักลงทุน ผู้เชี่ยวชาญ นักธุรกิจจากประเทศในภูมิภาคมาลงทุนผ่านงานเพื่อเป็นการขยายตลาดการค้าด้านวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิตและเทคโนโลยีชีวภาคต่อไปในอนาคต
ภายในพิธีเปิดงานอย่างเป็นทางการได้รับเกียรติจาก คุณอุมาพร สุขม่วง อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ ซึ่งเป็นตัวแทนของกระทรวงวิทยาศาสาตร์และเทคโนโลยี ประเทศไทย ร่วมเป็นประธานเปิดงาน ท่านอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กล่าวว่า “กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ตอบรับนโยบายของรัฐบาลทุกสมัย ในการสนับสนุนงานวิจัยซึ่งเป็นตัวชี้วัดศักยภาพความสามารถในการแข่งขันของประเทศทางหนึ่ง ซึ่งโดยทั่วไปตัวชี้วัดที่สำคัญ ก็คือ จำนวนเงินที่ประเทศนั้นๆ นำไปใช้ในการวิจัย เมื่อเทียบกับมูลค่าจีดีพีของประเทศ ซึ่งประเทศที่พัฒนาแล้วอย่าง อเมริกา ยุโรป หรือ ญี่ปุ่น ส่วนใหญ่ค่าใช้จ่ายในการวิจัยจะเกินกว่าร้อยละ 3 ของจีดีพี ในขณะที่กลุ่มประเทศกำลังพัฒนามักจะต่ำกว่าร้อยละ 1 หรือไม่ถึง 0.5 สำหรับประเทศไทยเรา ซึ่งขณะนี้ได้รับการสนับสนุนด้านการวิจัยอย่างมากมีการลงทุนอยู่ประมาณร้อยละ 0.78 เท่านั้น”
อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กล่าวต่อไปว่า “มาตรการการส่งเสริมด้านการวิจัยและพัฒนาของรัฐบาลนั้น มีหลายแนวทาง ที่น่าสนใจมาก คือการลดหย่อยภาษีนิติบุคคล ร้อยละ 300 ของวงเงินที่มีการใช้จ่ายเพื่อการวิจัยพัฒนา รวมถึงการปรับลดภาษีนำเข้าเครื่องมือวิทยาศาสตร์ และด้านเทคโนโลยี เป็นการกระตุ้นให้ประเทศไทยผลิตผลงานวิจัยและพัฒนา และสินค้าใหม่ได้ทัดเทียมนานาประเทศ ตลอดจนการสร้างมาตรฐานของสินค้าให้ได้มาตรฐานสากล สิ่งต่างๆ ดังกล่าวนำไปสู่การใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ และอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัย เพื่อให้ห้องปฏิบัติการสามารถทดสอบสินค้าได้ตามวัตถุประสงค์ นอกจากนี้การพัฒนาบุคลากรทางห้องปฏิบัติการต้องดำเนินการควบคู่กันไป จะทำให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางของห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งงานไทยแลนด์ แล็บ อินเตอร์เนชั่นแนล 2018 ถือเป็นงานที่สำคัญของประเทศ ที่มุ่งมั่น พัฒนา ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี โดยเป็นการร่วมมือของภาครัฐ และภาคเอกชน รวมถึงพันธมิตรจากต่างประเทศ ที่มีเป้าหมายร่วมกัน ซึ่งถือเป็นการตอบโจทย์ทั้งกลุ่มนักธุรกิจที่ต้องการเพิ่มการลงทุนในประเทศไทยและอาเซียน รวมไปถึงภาครัฐและองค์กรต่างๆ ที่ต้องการเผยแพร่เนื้อหา แลกเปลี่ยนความรู้จากงานวิจัยต่างๆ เพื่อนำไปต่อยอดกลับมาพัฒนาประเทศต่อไป”
เพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทุนภายในงาน ผู้จัดฯ ได้เตรียมโปรแกรมการจับคู่ธุรกิจระหว่างผู้ซื้อ และ ผู้ประกอบการ ผ่านทางเว็บไซค์ของงานเพื่อตอบสนองนโยบายภาครัฐและกระตุ้นการลงทุนในภาคเอกชน เกิดการจับคู่ธุรกิจกับคู่ค้า ตัวแทนจัดจำหน่ายของแบรนด์ต่างๆ ในอุตสาหกรรม คาดว่า มูลค่าการค้าของตลาดเครื่องมือห้องปฏิบัติการจะเพิ่มขึ้นถึง 5 พันล้านบาท หรือนับเป็น 15% ของในภูมิภาคเอเชีย นอกจากนั้น ไทยแลนด์ แล็บ อินเตอร์เนชั่นแนล ยังมีการนำโมเดล LAB Connect เข้ามาใช้เพื่อเชื่อมโยงหน่วยงานทางวิทยาศาสาตร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องมารวมกันทั้งในประเทศและต่างประเทศมาเชื่อมโยงเครือข่ายเพื่อกำหนดทิศทางของเทคโนโลยีห้องปฏิบัติการในอนาคต
งานไทยแลนด์ แล็บ อินเตอร์เนชั่นแนล จึงเป็นงานแสดงสินค้าระดับแนวหน้าของเอเชีย ที่ครบครันไปด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรม และเครื่องมือสำหรับห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสาตร์ ตลอดจนภาคธุรกิจเทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งมีการร่วมมือกับทั้งภาครัฐและเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศพัฒนางานร่วมกัน และนำมาสู่การจัดงานประชุมและสัมมนาวิชาการนานาชาติ ครอบคลุมในหัวข้อ การปรับปรุงและพัฒนามาตรฐานงานวิจัย, การวิเคราะห์และตรวจสอบ, การทดสอบในห้องปฏิบัติการ และการประชุมทางเทคนิคอื่นๆ โดยมีพันธมิตรร่วมจัดการประชุมหลายหน่วยงาน ประกอบด้วย กรมวิทยาศาสาตร์บริการ, กระทรวงวิทยาศาสาตร์และเทคโนโลยี, กระทรวงสาธารณสุข, กรมปศุสัตว์, ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสาตร์, สมาคมการค้าวิทยาศาสาตร์และเทคโนโลยี, กรมวิทยาศาสาตร์การแพทย์ และ สมาคมเทคโนโลยีชีวภาพแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นพันธมิตรหลักของการสนับสนุน Bio Investment Asia ซึ่งพร้อมต้อนรับนักลงทุนและผู้เชี่ยวชาญจาก 20 ประเทศมาแลกเปลี่ยนความรู้ การวิจัยใหม่ๆ ตลอดจนมุมมองการต่อยอดธุรกิจผ่านงานในครั้งนี้
Facebook แฟนเพจ อะกรีพลัสนิวส์