กรรมาธิการกิจการศาลฯ สภาผู้แทนราษฎร ลงพื้นที่ติดตามปัญหาการอนุญาตให้บริษัทเอกชนใช้เครื่องหมายการค้าตรานมไทย-เดนมาร์ค
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ประธานคณะกรรมาธิการกิจการศาล องค์กรอิสระ องค์กรอัยการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และกองทุน สภาผู้แทนราษฎร พร้อมคณะ ลงพื้นที่เพื่อร่วมประชุมติดตามปัญหาการอนุญาตให้บริษัทเอกชนใช้เครื่องหมายการค้าตรานมไทย-เดนมาร์ค ตามที่มีสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (สร.อ.ส.ค.) ร้องเรียน
โดยมีผู้แทน อ.ส.ค. คณะกรรมการสหภาพแรงงานวิสาหกิจ อ.ส.ค., ผู้แทนสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์(สรส.), ผู้แทนองค์กรสมาชิกสหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหแห่งประเทศไทย (สพร.ท), ผู้แทนชุมนุมสหกรณ์โคนมไทย-เดนมาร์ค จำกัด และผู้แทนเกษตรกรผู้เลี้ยงโคม เข้าร่วมประชุมหารือ ณ องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ เปิดเผยภายหลังการประชุมหารือว่า ภายหลังจากคณะกรรมการธิการฯ ได้รับหนังสือ ขอคัดค้านการอนุญาตนำเครื่องหมายการค้า “ไทย-เดนมาร์ค” ให้เอกชนใช้ในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมผงสำหรับทารก จากสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (สร.อ.ส.ค.) เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน ที่ผ่านมา ก็ได้มีการประชุมคณะกรรมาธิการถึง 2 ครั้ง พร้อมทั้งได้มีการลงพื้นที่เก็บข้อมูล ศึกษาข้อเท็จจริง
ข้อสังเกต : การที่ อ.ส.ค.อนุญาตให้เอกชนใช้เครื่องหมายการค้า “ไทย-เดนมาร์ค” จะเข้าข่าย พ.ร.บ.ร่วมทุนหรือไม่ และหากมีการดำเนินการ อ.ส.ค.ได้มีแผนการพัฒนาธุรกิจในอนาคตอย่างไร อีกทั้งการที่ อ.ส.ค.เปิดรับเอกชนเพียงรายเดียวเข้ามาดำเนินกิจการ โดยไม่มีการเปิดประมูล ทำให้ไม่เกิดความยุติธรรมโปร่งใสในเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบราชการ และยังพบว่ามีความไม่ชัดเจนของโครงการดังกล่าวนี้ในอีกหลายๆ ด้าน
คณะกรรมาธิการฯ จึงอยากให้มีการชะลอการดำเนินการโครงการนี้ไว้ก่อน และส่งเรื่องให้ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะกำกับดูแล อ.ส.ค. รวมถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาให้รอบคอบก่อนตัดสินใจดำเนินการใดๆ ออกไป
“หาก อ.ส.ค.จะดำเนินการโครงการดังกล่าว จะต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศ และผู้ที่มีส่วนได้เสียเป็นสำคัญ โดยเฉพาะเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม ซึ่งเป็นอาชีพพระราชทาน เป็นจำนวนมาก ที่จำเป็นต้องพึ่งพา อ.ส.ค.ในการประกอบอาชีพเป็นหลัก หากมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น ย่อมส่งผลกระทบทั้งระบบ จึงจำเป็นต้องพิจารณาให้รอบคอบ เพื่อไม่ให้เกษตรกรได้รับผลกระทบในภายหลัง” นายจิรายุ กล่าว
นางสาวณัฐภร แก้วประทุม ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (สร.อ.ส.ค.) กล่าวเพิ่มเติมว่า การที่ อ.ส.ค.จะอนุญาตให้บริษัทชั้นนำในประเทศออสเตรเลียใช้แบรนด์ “ไทย-เดนมาร์ค” เพื่อจำหน่ายนมผงสูตร 2 ที่จะนำเข้ามานี้ จะมีการเสริมสารอาหารต่างๆ (Fortified) เช่น โปรตีน แคลเซียมและฟอสฟอรัส สำหรับเด็กเล็กอายุ 6 เดือน ถึง 1 ปี
ประเด็นดังกล่าวนี้ กำลังเป็นที่ถกเถียงกันในวงการโคนมว่า ทาง อ.ส.ค.คิดได้อย่างไรกับแนวทางนี้ เพราะใครๆ ต่างก็รู้ดีว่า บทบาทหน้าที่และวัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง อ.ส.ค.นั้น คือ อะไร การดำเนินการเพื่ออนุญาตให้บริษัทเอกชนต่างชาติใช้แบรนด์ “ไทย-เดนมาร์ค” จึงไม่สอดรับกับวัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง อ.ส.ค.
อีกทั้งเครื่องหมายการค้าตรา “ไทย-เดนมาร์ค” เป็นสินทรัพย์ของ อ.ส ค. ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ ที่มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจของไทย การดำเนินการเพื่ออนุญาตให้บริษัทเอกชนต่างชาติใช้แบรนด์ “ไทย-เดนมาร์ค”
จึงอาจเข้าข่ายการเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทนมผงเอกชนข้ามชาติ จนส่งผลกระทบต่อตลาดนมในภาพรวมของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมและสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมของไทย และอ.ส.ค.
อีกทั้งมองว่า การดำเนินการเพื่ออนุญาตให้บริษัทเอกชนต่างชาติใช้แบรนด์ “ไทย-เดนมาร์ค” ไม่อยู่ในอำนาจ ของ อ.ส.ค. ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง อ.ส.ค.
อ.ส.ค. ควรทำหน้าที่ในฐานะที่เป็นหน่วยงานของรัฐที่เป็นกลไกสำคัญในการดูแลปกป้องผลประโยชน์ของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมไทยเป็นหลัก พัฒนาศักยภาพและยกระดับการเลี้ยงโคนมของเกษตรกรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขัน เสริมสร้างความมั่นคงในอาชีพให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม
“ภายหลังจากที่สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (สร.อ.ส.ค.) ได้ยื่นข้อเรียกร้องเพื่อคัดค้านการดำเนินโครงการดังกล่าวต่อ คณะกรรมาธิการ กิจการศาล องค์กรอิสระ องค์กรอัยการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และกองทุน สภาผู้แทนราษฎร จนกระทั่งมีผลให้ชะลอการดำเนินโครงการนี้ออกไปก่อน ทางสหภาพฯ มีความพอใจในระดับหนึ่ง
แต่หากจะให้พอใจสูงสุด คือ ควรยุติโครงการนี้ และเรียกร้องให้ฝ่ายบริหารหันไปให้ความสำคัญการพัฒนาอาชีพการเลี้ยงโคนมของเกษตรกรเป็นหลัก เพราะมองว่าการดำเนินโครงการดังกล่าวไม่ได้เกิดประโยชน์ต่อเกษตรกร หลังจากนี้ ทางสหภาพฯ จะติดตามเรื่องนี้ให้ถึงที่สุด เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของ อ.ส.ค.และเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม ผู้สืบสานอาชีพพระราชทานจาก พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จนทำให้เกษตรกรชาวไทยในวันนี้ได้มีอาชีพ มีรายได้ที่มั่นคงเลี้ยงครอบครัวได้ ช่วยสร้างรายได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ได้บริโภคอาหารที่มีคุณค่าอย่างนมโคอีกด้วย” ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (สร.อ.ส.ค.) กล่าว
นายสุกิจ สิงห์กลาง เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม กล่าวว่า วันนี้ต้องขอขอบคุณคณะกรรมาธิการกิจการศาล องค์กรอิสระ องค์กรอัยการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และกองทุน สภาผู้แทนราษฎรและสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (สร.อ.ส.ค.) ที่ช่วยออกมาปกป้องอาชีพการเลี้ยงโคนม และเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม เพราะหาก อ.ส.ค.มีการดำเนินโครงการดังกล่าว ย่อมได้รับผลกระทบโดยตรงอย่างแน่นอน อาจจะต้องลดขนาดฟาร์มและถึงขั้นอาจจะต้องเลิกเลี้ยงโคนมได้
อ.ส.ค.ควรเข้ามาพัฒนาอาชีพเลี้ยงโคนมให้เกษตรกร และดำเนินการรับซื้อน้ำนมดิบจากเกษตรกร ซึ่งเป็นนมโคสดแท้ 100% ไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ซึ่งจะช่วยให้ราคาน้ำนมดิบมีราคาเพิ่มขึ้น เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น ในขณะที่ผู้บริโภคก็จะได้ดื่มนมโคแท้ 100% ซึ่งมีประโยชน์กว่านมผงมากมาย โดยเฉพาะนมผงที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ เพราะไม่ได้เกิดประโยชน์ต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในประเทศเลย
ติดตามปัญหา เอกชนใช้แบรนด์ ตรานมไทย-เดนมาร์ค
กรรมาธิการกิจการศาลฯ สภาผู้แทนราษฎร ลงพื้นที่ติดตามปัญหาการอนุญาตให้บริษัทเอกชนใช้เครื่องหมายการค้าตรานมไทย-เดนมาร์ค
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ประธานคณะกรรมาธิการกิจการศาล องค์กรอิสระ องค์กรอัยการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และกองทุน สภาผู้แทนราษฎร พร้อมคณะ ลงพื้นที่เพื่อร่วมประชุมติดตามปัญหาการอนุญาตให้บริษัทเอกชนใช้เครื่องหมายการค้าตรานมไทย-เดนมาร์ค ตามที่มีสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (สร.อ.ส.ค.) ร้องเรียน
โดยมีผู้แทน อ.ส.ค. คณะกรรมการสหภาพแรงงานวิสาหกิจ อ.ส.ค., ผู้แทนสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์(สรส.), ผู้แทนองค์กรสมาชิกสหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหแห่งประเทศไทย (สพร.ท), ผู้แทนชุมนุมสหกรณ์โคนมไทย-เดนมาร์ค จำกัด และผู้แทนเกษตรกรผู้เลี้ยงโคม เข้าร่วมประชุมหารือ ณ องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ เปิดเผยภายหลังการประชุมหารือว่า ภายหลังจากคณะกรรมการธิการฯ ได้รับหนังสือ ขอคัดค้านการอนุญาตนำเครื่องหมายการค้า “ไทย-เดนมาร์ค” ให้เอกชนใช้ในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมผงสำหรับทารก จากสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (สร.อ.ส.ค.) เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน ที่ผ่านมา ก็ได้มีการประชุมคณะกรรมาธิการถึง 2 ครั้ง พร้อมทั้งได้มีการลงพื้นที่เก็บข้อมูล ศึกษาข้อเท็จจริง
ข้อสังเกต : การที่ อ.ส.ค.อนุญาตให้เอกชนใช้เครื่องหมายการค้า “ไทย-เดนมาร์ค” จะเข้าข่าย พ.ร.บ.ร่วมทุนหรือไม่ และหากมีการดำเนินการ อ.ส.ค.ได้มีแผนการพัฒนาธุรกิจในอนาคตอย่างไร อีกทั้งการที่ อ.ส.ค.เปิดรับเอกชนเพียงรายเดียวเข้ามาดำเนินกิจการ โดยไม่มีการเปิดประมูล ทำให้ไม่เกิดความยุติธรรมโปร่งใสในเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบราชการ และยังพบว่ามีความไม่ชัดเจนของโครงการดังกล่าวนี้ในอีกหลายๆ ด้าน
คณะกรรมาธิการฯ จึงอยากให้มีการชะลอการดำเนินการโครงการนี้ไว้ก่อน และส่งเรื่องให้ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะกำกับดูแล อ.ส.ค. รวมถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาให้รอบคอบก่อนตัดสินใจดำเนินการใดๆ ออกไป
“หาก อ.ส.ค.จะดำเนินการโครงการดังกล่าว จะต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศ และผู้ที่มีส่วนได้เสียเป็นสำคัญ โดยเฉพาะเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม ซึ่งเป็นอาชีพพระราชทาน เป็นจำนวนมาก ที่จำเป็นต้องพึ่งพา อ.ส.ค.ในการประกอบอาชีพเป็นหลัก หากมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น ย่อมส่งผลกระทบทั้งระบบ จึงจำเป็นต้องพิจารณาให้รอบคอบ เพื่อไม่ให้เกษตรกรได้รับผลกระทบในภายหลัง” นายจิรายุ กล่าว
นางสาวณัฐภร แก้วประทุม ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (สร.อ.ส.ค.) กล่าวเพิ่มเติมว่า การที่ อ.ส.ค.จะอนุญาตให้บริษัทชั้นนำในประเทศออสเตรเลียใช้แบรนด์ “ไทย-เดนมาร์ค” เพื่อจำหน่ายนมผงสูตร 2 ที่จะนำเข้ามานี้ จะมีการเสริมสารอาหารต่างๆ (Fortified) เช่น โปรตีน แคลเซียมและฟอสฟอรัส สำหรับเด็กเล็กอายุ 6 เดือน ถึง 1 ปี
ประเด็นดังกล่าวนี้ กำลังเป็นที่ถกเถียงกันในวงการโคนมว่า ทาง อ.ส.ค.คิดได้อย่างไรกับแนวทางนี้ เพราะใครๆ ต่างก็รู้ดีว่า บทบาทหน้าที่และวัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง อ.ส.ค.นั้น คือ อะไร การดำเนินการเพื่ออนุญาตให้บริษัทเอกชนต่างชาติใช้แบรนด์ “ไทย-เดนมาร์ค” จึงไม่สอดรับกับวัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง อ.ส.ค.
อีกทั้งเครื่องหมายการค้าตรา “ไทย-เดนมาร์ค” เป็นสินทรัพย์ของ อ.ส ค. ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ ที่มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจของไทย การดำเนินการเพื่ออนุญาตให้บริษัทเอกชนต่างชาติใช้แบรนด์ “ไทย-เดนมาร์ค”
จึงอาจเข้าข่ายการเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทนมผงเอกชนข้ามชาติ จนส่งผลกระทบต่อตลาดนมในภาพรวมของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมและสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมของไทย และอ.ส.ค.
อีกทั้งมองว่า การดำเนินการเพื่ออนุญาตให้บริษัทเอกชนต่างชาติใช้แบรนด์ “ไทย-เดนมาร์ค” ไม่อยู่ในอำนาจ ของ อ.ส.ค. ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง อ.ส.ค.
อ.ส.ค. ควรทำหน้าที่ในฐานะที่เป็นหน่วยงานของรัฐที่เป็นกลไกสำคัญในการดูแลปกป้องผลประโยชน์ของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมไทยเป็นหลัก พัฒนาศักยภาพและยกระดับการเลี้ยงโคนมของเกษตรกรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขัน เสริมสร้างความมั่นคงในอาชีพให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม
“ภายหลังจากที่สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (สร.อ.ส.ค.) ได้ยื่นข้อเรียกร้องเพื่อคัดค้านการดำเนินโครงการดังกล่าวต่อ คณะกรรมาธิการ กิจการศาล องค์กรอิสระ องค์กรอัยการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และกองทุน สภาผู้แทนราษฎร จนกระทั่งมีผลให้ชะลอการดำเนินโครงการนี้ออกไปก่อน ทางสหภาพฯ มีความพอใจในระดับหนึ่ง
แต่หากจะให้พอใจสูงสุด คือ ควรยุติโครงการนี้ และเรียกร้องให้ฝ่ายบริหารหันไปให้ความสำคัญการพัฒนาอาชีพการเลี้ยงโคนมของเกษตรกรเป็นหลัก เพราะมองว่าการดำเนินโครงการดังกล่าวไม่ได้เกิดประโยชน์ต่อเกษตรกร หลังจากนี้ ทางสหภาพฯ จะติดตามเรื่องนี้ให้ถึงที่สุด เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของ อ.ส.ค.และเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม ผู้สืบสานอาชีพพระราชทานจาก พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จนทำให้เกษตรกรชาวไทยในวันนี้ได้มีอาชีพ มีรายได้ที่มั่นคงเลี้ยงครอบครัวได้ ช่วยสร้างรายได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ได้บริโภคอาหารที่มีคุณค่าอย่างนมโคอีกด้วย” ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (สร.อ.ส.ค.) กล่าว
นายสุกิจ สิงห์กลาง เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม กล่าวว่า วันนี้ต้องขอขอบคุณคณะกรรมาธิการกิจการศาล องค์กรอิสระ องค์กรอัยการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และกองทุน สภาผู้แทนราษฎรและสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (สร.อ.ส.ค.) ที่ช่วยออกมาปกป้องอาชีพการเลี้ยงโคนม และเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม เพราะหาก อ.ส.ค.มีการดำเนินโครงการดังกล่าว ย่อมได้รับผลกระทบโดยตรงอย่างแน่นอน อาจจะต้องลดขนาดฟาร์มและถึงขั้นอาจจะต้องเลิกเลี้ยงโคนมได้
อ.ส.ค.ควรเข้ามาพัฒนาอาชีพเลี้ยงโคนมให้เกษตรกร และดำเนินการรับซื้อน้ำนมดิบจากเกษตรกร ซึ่งเป็นนมโคสดแท้ 100% ไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ซึ่งจะช่วยให้ราคาน้ำนมดิบมีราคาเพิ่มขึ้น เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น ในขณะที่ผู้บริโภคก็จะได้ดื่มนมโคแท้ 100% ซึ่งมีประโยชน์กว่านมผงมากมาย โดยเฉพาะนมผงที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ เพราะไม่ได้เกิดประโยชน์ต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในประเทศเลย.