เผาทำลายมะพร้าวอินโดนีเซียลักลอบนำเข้า

มะพร้าวอินโดนีเซีย กรมวิชาการเกษตร ยึด ชี้ผิดเงื่อนไขนำเข้าตามประกาศ กรมวิชาการเกษตร

NEWS

มะพร้าวอินโดนีเซีย กรมวิชาการเกษตร ยึด ชี้ผิดเงื่อนไขนำเข้าตามประกาศ กรมวิชาการเกษตร

มะพร้าวอินโดนีเซีย กรมวิชาการเกษตร ชี้ผิดเงื่อนไขนำเข้าตามประกาศ กรมวิชาการเกษตร   พบแมลงศัตรูพืชมีชีวิต  และต้นอ่อนงอก สั่งทำลาย 10 ชิปเมนต์ รวม 297.55 ตัน   มูลค่ากว่า 3 ล้านบาท

"กรมวิชาการเกษตร

ดร.สุวิทย์ ชัยเกียรติยศ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า การนำเข้ามะพร้าวอยู่ในการกำกับดูแลของคณะกรรมการนโยบายพืชน้ำมัน  โดยกรมวิชาการเกษตรจะกำกับดูแลเรื่องศัตรูพืชที่อาจจะติดมากับสินค้าตามพ.ร.บ. กักพืช  ซึ่งในช่วงเดือนมกราคม – เมษายน 2561 ประเทศไทยนำเข้ามะพร้าวจากต่างประเทศที่ผ่านด่านตรวจพืชของกรมวิชาการเกษตร จำนวน 128,924.9 ตัน    คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1,290.5 ล้านบาท โดยนำเข้าจากอินโดนีเซีย 98,817.1 ตัน มูลค่า 994.2 ล้านบาท  เวียดนาม 29,756.1 ตัน มูลค่า 291.9 ล้านบาท เมียนมาร์ 184.6 ตัน มูลค่า 2.3 ล้านบาท และมาเลเซีย 167.1 ตัน มูลค่า 2.1 ล้านบาท

ดร.สุวิทย์ ชัยเกียรติยศ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร
ดร.สุวิทย์ ชัยเกียรติยศ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร

ในช่วงเดือนเมษายน – พฤษภาคมที่ผ่านมา กรมวิชาการเกษตรได้ดำเนินการสุ่มตรวจและยึดมะพร้าวจากอินโดนีเซียจำนวน 10 ชิปเมนต์  และส่งกลับจำนวน 1 ชิปเมนต์ เนื่องจากพบผิดเงื่อนไขการนำเข้าตามประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่องเงื่อนไขการนำเข้ามะพร้าวจากอินโดนีเซีย พ.ศ. 2554 โดยตรวจพบแมลงศัตรูพืชมีชีวิตและพบต้นอ่อนงอก รวม 297.55 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 3 ล้านบาท   ทั้งนี้ มะพร้าวเป็นสิ่งต้องห้ามตาม พ.ร.บ. กักพืช ซึ่งประเทศไทยอนุญาตให้มีการนำเข้ามะพร้าวจาก 4 ประเทศ คือ มาเลเซีย เวียดนาม อินโดนีเซีย และเมียนมาร์  ซึ่งหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการอนุญาตที่จะให้นำเข้าจากประเทศใดประเทศหนึ่งนั้น เกิดจากการร้องขอให้มีการอนุญาตนำเข้าจากผู้ประกอบการ โดยกรมวิชาการเกษตรทำหน้าที่ในการวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านโรคพืชและแมลงศัตรูพืช เพื่อกำหนดเงื่อนไขในการอนุญาตตามมาตรการสุขอนามัยพืช

มะพร้าวอินโดนีเซียพบต้นอ่อนงอก
 พบต้นอ่อนงอก

สำหรับประเภทของมะพร้าวที่ไทยอนุญาตให้นำเข้า คือ ผลมะพร้าวแก่ปอกเปลือก เนื้อมะพร้าวสด เนื้อมะพร้าวแห้ง กะลามะพร้าว เส้นใยมะพร้าว และกาบมะพร้าวโดยจะเข้มงวดเรื่องของโรคและแมลงศัตรูในมะพร้าว ได้แก่ โรคกาดังกาดัง (cadangcadang disease) แมลงดำหนาม หนอนหัวดำมะพร้าว ไรแดงมะพร้าว เป็นต้น

มะพร้าวอินโดนีเซียพบต้นอ่อนงอก
พบต้นอ่อนงอก

“มาตรการควบคุมการนำเข้าของกรมวิชาการเกษตร ผู้นำเข้าต้องมีใบอนุญาตนำเข้า และต้องเป็นผู้ประกอบธุรกิจโรงงานแปรรูปมะพร้าว ซึ่งการออกใบอนุญาตนำเข้ามะพร้าวเข้ามาในไทยจะอนุญาตเพื่อใช้ในโรงงานแปรรูปมะพร้าวเท่านั้น  โดยก่อนการออกใบอนุญาตนำเข้า เจ้าหน้าที่ของกรมวิชาการเกษตรต้องตรวจประเมินโรงงานแปรรูปมะพร้าว สำหรับการนำเข้ามะพร้าวแก่ปอกเปลือกต้องกำจัดความงอกโดยรมด้วยสาร     เมทธิลโบรไมด์ตามอัตราที่กำหนด เพื่อป้องกันการนำมะพร้าวมาปลูกต่อ  เนื่องจากมะพร้าวที่งอกที่นำเข้ามานั้นอาจเป็นพาหะของโรคต่าง ๆ และอาจแพร่ระบาดติดต่อกับมะพร้าวที่ปลูกในไทยทำให้เกิดความเสียหายได้  ส่วนผลมะพร้าวต้องมีการปอกเปลือกและต้องไม่มีหน่อ ใบ ยอด ติดมากับผล  และจะต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชกำกับมาพร้อมกับสินค้าทุกครั้ง  กรมวิชาการเกษตรได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ให้ตรวจตราอย่างเคร่งครัด แต่ในการพิจารณาตรวจปล่อยสินค้าจะเป็นอำนาจหน้าที่ของด่านศุลกากรตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วย”

ดร.สุวิทย์ กล่าว

เผาทำลายมะพร้าวอินโดนีเซียลักลอบนำเข้า
เผาทำลาย  ลักลอบนำเข้า