ต้นทุนหมูไตรมาส 1/2568 ยึดต้นทุน 76 บาท/ก.ก.

PIG&PORK

26 กุมภาพันธ์ 2568 อนุกรรมการ Pig Board – การประชุมคณะอนุกรรมการวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตสุกรครั้งที่ 1/2568 กับ ผลสูญเสียที่มากขึ้นที่ 5% และ 7% สำหรับลูกสุกรอนุบาลและสุกรขุน ตามลำดับ หลังข้อสรุปต้นทุนสูงสุดไตรมาสที่ 1 ปี 2568 ยึดตัวเต็มที่ 76 บาทต่อกิโลกรัม จากต้นทุนกลุ่มซื้อลูกเข้าขุนสูงกว่าที่ 75.21 บาทต่อกิโลกรัม โดยเพิ่มขึ้นจาก 74.81 บาทต่อกิโลกรัมของไตรมาสที่ 4/2567 กลุ่มผลิตลูกลดลงมาอยู่ที่ 74.76 บาทจากไตรมาสที่ 4/2567 ที่ 77.07 บาทต่อกิโลกรัม

  1. กรณีซื้อลูกสุกรมาเลี้ยงขุน ต้นทุนการผลิตทั้งหมดหลังหักผลพลอยได้เฉลี่ย
    o ไตรมาส 1/2568 เป็นกิโลกรัมละ 75.21 บาท
    o เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 4/2567 กิโลกรัม ที่ 74.81 บาท
    o เนื่องจากทั้งค่าลูกสุกรพันธุ์ และ ค่าอาหารลดลง
    o อัตราสูญเสียจากการ แบ่งเป็นช่วงอนุบาล 5% ช่วงสุกรขุน 7%
    o โดยต้นทุนการผลิตสุกรทั้งอุตสาหกรรม ไตรมาสที่ 1/2568 จะยึดถือตามต้นทุนของกลุ่มซื้อลูกสุกรพันธุ์เข้าขุนเป็นเกณฑ์ โดยสามารถอ้างอิงตัวเลขจำนวนเต็มได้ที่ 76 บาทต่อกิโลกรัม

  1. กรณีผลิตลูกสุกรเอง ต้นทุนการผลิตทั้งหมดหลังหักผลพลอยได้เฉลี่ย
    o ไตรมาส 1/2568 เป็นกิโลกรัมละ 74.76 บาท
    o ลดลงจากไตรมาส 4/2567 เฉลี่ยที่ 77.07 บาทต่อกิโลกรัม
    o เนื่องจากค่าอาหารลดลง ต้นทุนผลิตลูกสุกรพันธุ์ลดลง
    o อัตราสูญเสียจากการ แบ่งเป็นช่วงอนุบาล 5% ช่วงสุกรขุน 7%

ลูกสุกรพันธุ์ที่จำหน่ายโดยกลุ่มฟาร์มครบวงจรเริ่มจำหน่ายเท่าต้นทุนและเหนือต้นทุนในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2567 ทำให้การคาดการณ์ต้นทุนในช่วงไตรมาส 1/2568 กลุ่มฟาร์มครบวงจรจะมีต้นทุนที่น้อยกว่ากลุ่มที่ซื้อลูกสุกรพันธุ์เข้าขุน

ในขณะที่ต้นทุนค่าอาหารสัตว์เริ่มมีการลดลง หลักๆจะในกลุ่มพืชพลังงาน ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และกลุ่มโปรตีน ได้แก่ กากถั่วเหลือง ที่มีราคาย่อตัวทั้ง 2 กลุ่มโดยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สัปดาห์ล่าสุดสัปดาห์ล่าสุด (24-28 กุมภาพันธ์ 2568) อยู่ที่ 10.40 บาทต่อกิโลกรัม กากถั่วเหลืองเมล็ดนำเข้ายืนราคาอยู่ที่ 16.70 บาท มาหลายสัปดาห์

โดยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และกากถั่วเหลืองจะเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ 2 กลุ่ม ที่สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติจะใช้เป็นข้อต่อรองในการเพิ่มสัดส่วนการนำเข้าจากสหรัฐอเมริกามากขึ้น โดยเฉพาะข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ซึ่งมีในโควต้าน้อยมากอยู่ที่ 54,700 ตัน เสียอากรขาเข้า 20% นอกโควต้า ที่เป็นส่วนที่เกินหลังจากนั้นจะเป็นอากร 73%

ซึ่งถ้าจำเป็นจะต้องนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพื่อทดแทนไม่ให้มีการส่งเนื้อหมูจากสหรัฐเข้ามา สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ โดยสมาพันธ์ปศุสัตว์และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้นำเสนอใช้มาตรการนี้ไปแล้วผ่านสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย แต่ก็ขึ้นอยู่กับรัฐบาลว่าจะยอมลดอากรนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้มีต้นทุนรวมต่ำลงหรือไม่ นอกเหนือจากการลดแรงกดดันให้เปิดตลาดเนื้อสุกรจากสหรัฐอเมริกาแล้ว ต้นทุนการผลิตสุกรก็จะลดลง โดยเฉพาะจากกลุ่มข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เฉพาะจากส่วนที่ผลผลิตในประเทศไม่เพียงพอ.